เราขอแนะนำ “บุก” ให้ท่านผู้อ่านทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 รู้จักบุกมาก่อนแต่อยากรู้จักบุกเพิ่มเติม และ กลุ่มที่ 2 ไม่รู้จักบุกเลย (ซึ่งยังมีจำนวนมาก)
ก่อนอื่นเราควรมารู้จักคุณประโยชน์ของบุกก่อน แล้วค่อยมารู้จักหน้าตาของต้นไม้ที่ฝักตัวอยู่ใต้ดินชนิดนี้
ขอแนะนำเรื่องน่ารู้ของ “บุก” แบบย่อๆ ดังนี้....
เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ “บุก”
เรียบเรียงโดย MOKI Konjac
(เราอนุญาตให้นำบทความนี้ไปเผยแพร่ได้เพียงแต่ช่วยอ้างอิงแหล่งที่มาจาก เว็บ www.mokifood.com)
- ใครควรกินบุก?
บุกเหมาะกับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก ผู้ที่ต้องเลือกกินอาหารที่มีเส้นใยธรรมชาติสูง ต้องเลือกบุก บุกยังมีคอเรสเตอรอลต่ำ ปราศจากไขมัน มีคาร์โบไฮเดรตต่ำ ตัวแป้งที่อยู่ในหัวบุกเป็นแป้งที่ละลายน้ำได้ แต่แปลกมากที่ร่างกายเราไม่ชอบย่อยมัน บุกเลยกลายเป็นอาหารที่ช่วยลดน้ำหนักได้ดี ที่กล่าวมานี่คือจุดเด่นหลายประการของบุก ถ้าอยากรู้ลึกๆ ต้องค้นจากเว็บไซต์ org ทั้งภาษาไทยและอังกฤษ มีข้อมูลน่าสนใจอยู่มากมาย
- มีใครกินบุกมั่ง?
คนญี่ปุ่น คนจีน คนเกาหลี รู้จักกินบุกมาไม่น้อยกว่า 1,500 ปี แล้ว แพทย์จีนใช้บุกในการรักษาโรคในระบบย่อยอาหารมาตั้งแต่สมัยโบราณ คนในดินแดนสุวรรณภูมิก็รู้จักการกินบุกมาหลายร้อยปีแล้ว โดยเฉพาะการกินก้านของต้นบุก ส่วนหัวบุกต้องผ่านการต้มหรือย่างให้สุกเพื่อกำจัดสารที่ทำให้แพ้ก่อนจึงกินได้ น่าอาจเป็นสาเหตุที่บุกไม่ได้รับความนิยมในดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้
- คนที่ผอมอยู่แล้ว กิน “บุก” ได้เปล่า?
ปัจจุบันคนที่นิยมกันบุกได้ขยายวงไปหลายกลุ่ม ไม่จำกัดเฉพาะคนที่ต้องการลดน้ำหนัก คนญี่ปุ่นใช้บุกทำเส้นก๋วยเตี๋ยว อูด้ง ทำบุกแผ่นจิ้มซอสมิโซะ (Japanese miso sauce) เป็นวัตถุดิบในหม้อสุกี้ยากี้ เป็นต้น
- บุกทำมาจากอะไร ทำไม “บุก” จึงเป็นเส้นๆ หรือเป็นแผ่นๆ เขาทำบุกให้เรากินได้ยังไง?
ขออธิบายสั้นๆ ... บุกเส้น บุกก้อน บุกแผ่น บุกรูปร่างแบบมักกะโรนี ที่เรารับประทาน คือส่วนที่เป็นตัวแป้งของหัวบุกที่ผ่านการขึ้นรูปต่างๆ แล้ว .... ขอย้อนไปขั้นตอนการทำตั้งแต่ต้นดังนี้....
- เราต้องขุดหัวบุกจากใต้ดิน (เหมือนหัวเผือก หัวมัน ที่เติบโตอยู่ใต้ดิน) บุกเป็นไม้ล้มลุกลักษณะคล้ายบอนในสกุล Amorphophallus วงศ์ Araceae มีเพียงบางชนิดที่เหมาะมาทำแป้งบุก เช่น บุกไข่
- นำหัวบุกมาหั่นเป็นแว่น เป็นชิ้นบางๆ นำไปตากแดดหรืออบแห้ง
- นำมาทำเป็นผงแป้ง (โดยวิธีโม่แป้ง) จะได้ผงละเอียด สีขาวๆ หรือสีเนื้ออ่อนๆ แล้วแต่สายพันธ์ของบุก แป้งบุกมีสาร glucomannan ที่มีสรรพคุณทางยาในการรักษาระบบการย่อยของกระเพาะลำไส้ ช่วยการขับถ่ายถ้ากินจำนวนมากพอ กินจำนวนเล็กน้อยจะไม่มีผลอะไร (ตามสูตรการรักษาแพทย์แผนโบราณของจีนและญี่ปุ่น แต่เราควรปรึกษาแพทย์ก่อน)
- เอาผงแป้งมาละลายน้ำ นวดจนได้แป้งเหนียวๆ เอามาขึ้นรูปต่างๆ เช่น ทำเป็นเส้น ทำเป็นแผ่น
- นำไปต้มน้ำร้อน จะได้ บุก ที่สูก จึงนำมาปรุงอาหารได้ บุกที่ทำสุกแล้ว จะต้องแช่อยู่ในน้ำเสมอ แล้วนำใส่ถุงหรือกล่องพลาสติก เข้าตู้เย็นช่องธรรมดา ถ้าไว้ในอากาศ จะแห้งแข็งตัว มีเคล็ดลับในการเก็บรักษา คือเขานิยมเติมน้ำด่างเข้าไปในถุงบุกที่ต้มสุกแล้ว เช่น น้ำปูนใส หรือ ผงฟูก็ได้ ไม่ต้องใส่มาก เป็นการถนอมอาหารให้เก็บนานขึ้น เก็บในตู้เย็นได้นาน 3 เดือนหรือมากกว่านี้ ก่อนนำมาปรุงอาหารก็ควรล้างน้ำให้สะอาดแล้วต้มให้เดือดหรือลวกด้วยน้ำร้อนอีกครั้ง
- ตัวบุกเองไม่ค่อยมีรสชาติมากนัก ความอร่อยของบุกต้องอาศัยน้ำซุป น้ำจิ้ม เครื่องปรุงรสอย่างอื่นมาเสริมรสชาติ เวลากิน เวลาเคี้ยวจะกรุปๆ กินแล้วไม่เพิ่มน้ำหนัก ไม่เพิ่มคอเลสเตอรอล ไม่เพิ่มไขมัน ....
- บุก เหมาะอย่างยิ่งสำหรับพ่อครัว แม่ครัวหรือเชฟมืออาชีพจะไปคิดสูตรเมนูอาหารเพื่อเอาใจลูกค้าที่ไม่อยากเพิ่มน้ำหนัก
บุกคือส่วนที่เป็นหัวของต้นบุก คล้ายหัวเผือก เรานำแป้งบุกมาแปรรูป ได้บุกแผ่น บุกเส้น บุกผ้าขี้ริ้ว ฯลฯ ใช้ปรุงอาหารในเมนูต่าง ๆ ได้สารพัด มีไฟเบอร์สูงมาก ช่วยแก้ปัญหาให้คนที่อยากลดคอเลสเตอรอล เราเริ่มผลิตในเมืองไทยมาตั้งแต่ปี 2548 แนวคิดที่อยากให้คนไทยกินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลดการพึ่งพายาจากคุณหมอ MOKI Konjac ขอจบการแนะนำบุกฉบับย่อเพียงเท่านี้...
